บริษัทอะคริลิค Thai Poly ผู้ผลิตและโรงงานอะคริลิคคุณภาพสูง
TH EN

SUSTAINABILITY

การพัฒนาที่ยั่งยืน

การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

04/04/2022

1. นโยบายการบริหาร และเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน

ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ บริษัทได้การกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ, สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs: Sustainable Development Goals) ขององค์การ สหประชาชาติ ตามคำมั่นสัญญานี้ บริษัทดำเนินการพัฒนา และปรับปรุงระบบการจัดการความยั่งยืนมีประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ต่อไป

ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและปฏิบัติตามแนวทางความยั่งยืน บริษัทจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดทั้งภายในและภายนอก ไม่จำกัดเฉพาะ แต่รวมถึงผู้ถือหุ้น พนักงาน กรรมการ ลูกค้า ชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยงานกำกับดูแล บริษัทฯ จึงได้สื่อสาร วัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนให้กับพนักงานทุกคนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในความสำคัญ ส่งเสริมความสามัคคี การมีส่วนร่วม และความร่วมมือ และเพื่อให้การดำเนินงานและกิจกรรมของบริษัทฯ สอดคล้องกับนโยบายนี้

2. การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

2.1 ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
เพื่อช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ สังคม สร้างมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน บริษัท จัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานและปรับปรุง ความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานและการดำเนินธุรกิจและธุรกรรมทั้งหมดจาก (i) ต้นน้ำในการจัดหาวัตถุดิบ พลังงาน บริการ (ii) ใน กิจกรรมทั้งหมดของตนเอง และ (iii) ไปจนถึงปลายน้ำให้กับลูกค้า นโยบายของบริษัทในการจัดหาวัตถุดิบ พลังงาน และบริการ กำหนดให้มีการประเมินซัพพลายเออร์เพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับแนวปฏิบัติ สิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาลที่ดี และมีนโยบาย ด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับนโยบายของบริษัท

2.2 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Materiality Assessment)

บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญของความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล และมุ่งมั่นที่จะสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตของธุรกิจ ความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน และการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างมูลค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืน

ในปี 2565 บริษัทจะจัดทำการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Materiality Assessment) กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เพื่อกำหนดและจัดหมวดหมู่ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ระบุทั้งหมด ท้ังนี้เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ และแผนงานของบริษัทสอดคล้องกับความคาดหวังเหล่านี้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ และมีประสิทธิภาพสูงสุด กระบวนการนี้ดำเนินการเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปี 2564 บริษัทมุ่งเน้นไปที่กลุ่มของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่ง ประกอบด้วย ซัพพลายเออร์ ลูกค้า พนักงาน และชุมชน

เป้าหมายความยั่งยืนของบริษัทสำหรับปี 2564 ประกอบด้วยหมวดหลัก 4 หัวข้อ โดยมุ่งเน้นที่ 12 ด้านความยั่งยืนและการกำกับดูแล:

หมวดที่ 1 อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และ สิ่งแวดล้อม

  • อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และ สิ่งแวดล้อม
  • ลดการใช้ ลดการบริโภค และ ลดการปล่อยของเสีย
  • การบริหารจัดการพลังงาน

หมวดที่ 2 ธรรมาภิบาล การกำกับดูแลกิจการ

  • ธรรมาภิบาล การกำกับดูแลกิจการ
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
  • ความโปร่งใส และการเปิดเผยข้อมูล

หมวดที่ 3 ความเท่าเทียม สิทธิมนษุยชน และ ความรับผิดชอบต่อสังคม

  • การบริหาร และพัฒนาบุคคลากร
  • สิทธิมนุษยชน ความหลากหลาย และความเท่าเทียม
  • ความรับผิดชอบต่อสังคมและ ชุมชนสัมพันธ์

หมวดที่ 4 การดำเนินธรุกิจ

  • ความมั่นคง และ การเติบโตของธรุกิจ
  • คุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า
  • การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้บริโภค
3. การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม

3.1 การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม
บริษัทมีความตระหนักในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยบริษัท ให้ความสำคัญ และใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก บริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศ ทั้งในด้านของการผลิตสินค้า และการให้บริการ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างธุรกิจกับระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทจะดำเนินธุรกิจอย่างรู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจเชิงรุกเพื่อรับมือ และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงการลดผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อมด้วย บริษัทได้จัดทำนโยบายความ ปลอดภัยในการทำงาน อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่สร้าง ผลกระทบเชิงลบต่อธรรมชาติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

นโยบายความปลอดภัยในการทำงาน อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

บริษัทถือว่างานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ และเป็นความรับผิดชอบที่มีต่อ สังคมจึงได้กำหนดนโยบายเพื่อนำสู่การปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. บริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยง และระบุโอกาสในการป้องกันและลดอันตรายต่อ การบาดเจ็บ โรคจากการทำงาน และ มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ที่อาจส่งผลกระทบต่อพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  2. มุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลดความเสี่ยงด้านมลพิษ (มลพิษทางอากาศ, มลพิษทางน้ำ และ มลพิษทางดิน)
  3. ปฏิบัติตามมาตรฐานในการทิ้งหรือกำจัดของเสีย และลดของเสียให้มีปริมาณน้อยที่สุด
  4. ตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้ และแนวทางการลดปริมาณ ของการใช้น้ำ พลังงาน และทรัพยากร ให้สามารถนำไปใช้ ได้จริงท้ังในเชิงเศรษฐกิจ และ/ หรือ ทางเทคนิค รวมถึงให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
  5. จัดให้มีมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้รับเหมา และ / หรือ ผู้มาติดต่อโดยดำเนินการ ภายใต้นโยบายและกฎระเบียบขององค์กร
  6. ให้ความร่วมมือและดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและนโยบายถึงพนักงาน ผู้มีส่วนได้เสีย บุคคลภายนอกทั้งภาคราชการ และเอกชน ตามความจำเป็นหรือเหมาะสม
  7. จัดให้มีการพิจารณาผลงานด้านความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยถือเป็นหัวข้อหลักในการประเมินผลงานประจำปีของพนักงานทุคน
  8. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ทั้งในเวลาทำงาน และนอกเวลาทำงาน
  9. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาความรู้ความสามารถ โดยจัดการฝึกอบรมให้ความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึก
  10. ยึดมั่นต่อความรับผิดชอบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อมตลอดวงจร อายุของผลิตภัณฑ์
  11. จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นอย่างเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
  12. พัฒนา ปรับปรุง และยกระดับความสามารถของพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในทุก ด้านของธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดลอ้ม

การบริหารด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมของบริษัทอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กำกับดูแล กำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงจัดทำแผนการปรับปรุงงานประจำปีอย่างต่อเนื่อง และติดตามประเมินผลเพื่อรายงานต่อไปยัง คณะผู้บริหาร คณะกรรมการ และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมไปถึงผู้ถือหุ้น

บริษัทมีการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และมีการตรวจสอบการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงาน และพื้นที่ปฏิบัติงานต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการขอรับรองมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ISO14001, ISO 9001, TIS 18001 โดยกำหนดให้มี การทบทวนและตรวจสอบ การปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกและกิจกรรมทั้งหมดเป็นประจำ

3.2 ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทมีการดำเนินงานหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจะให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตาม กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมถึงการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อความ ปลอดภัยของพนักงาน และชุมชนรอบข้าง

ทั้งนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการพลังงาน น้ำ ของเสีย บรรจุภัณฑ์ และวัตถุดิบ นอกจากนี้บริษัทได้ดำเนินการเฝ้าระวังปัญหา ด้านอาชีวอนามัยให้กับพนักงาน และปัญหาสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งได้ดำเนินเป็น ประจำทุก ๆ ปี

4 การจัดการความยั่งยืนในมิติสังคม

4.1 นโยบายด้านความเคารพต่อ สิทธิมนุษยชน, กฎหมายแรงงาน และ ความรับผิดชอบด้านสังคม
บริษัทมุ่งมั่นที่ปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิมนุษยชนได้รับการเคารพและพนักงานของบริษัท ตลอดห่วงโซ่อุปทานและฐาน ลูกค้าได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้บริษัทยังปรับปรุงการดำเนินงานและกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสื่อสาร ทบทวน และปรับปรุงนโยบายที่เกี่ยวข้องโดยพิจารณา "ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและห่วงโซ่ อุปทาน" ที่เหมาะสม สอดคล้องกับการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงการพิจารณาสิทธิของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเสมอ ภาค ศักดิ์ศรี สิทธิและเสรีภาพท่ีได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนญูแห่งราชอาณาจักรไทยและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

บริษัทปฏิบัติอย่างเคร่งครัดต่อ สิทธิมนุษยชน, กฎหมายแรงงาน และ ความรับผิดชอบด้านสังคม ตามขอบเขตของ :

  • ดำเนินการและปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และระเบียบข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การใช้แรงงานสตรี, การใช้แรงงาน เด็ก และไมมีการแรงงานบังคับ
  • จัดให้มีแผนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างครอบคลุมสำหรับพนักงานทุกระดับในหน้าที่ต่างๆ
  • จัดให้มีการจ้างงานและจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับพนักงานที่พิการและพนักงานที่ทำงานเกินอายุ เกษียณตามความเหมาะสม
  • ให้ความเคารพ และความเข้าใจและพฤติกรรมที่ต้องการของพนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง กับความหลากหลาย ความเท่าเทียมกัน การไมเ่ลือกปฏิบัติทางเพศ อายุ รูปลักษณ์ ศาสนา ความเชื่อ ภูมิหลัง ความทุพพลภาพ ฯลฯ
  • ไม่สื่อสาร แสดงออก หรือกระทำการใดที่เป็นการละเมิด ที่ส่งผลใหเ้กิดความรู้สึกเชิงลบซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือความหลากหลายส่วนบุคคล และจะดำเนินการอย่างเหมาะสมในการจัดการเมื่อพิจารณาแล้วว่า มีการกระทำ ดังกล่าวเกิดขึ้น
  • จัดให้มีช่องทางการสื่อสารและโอกาสสำหรับพนักงานในการสื่อสาร แสดงความคิดเห็น หรือข้อกังวลในลักษณะที่ ปลอดภัยและไมเ่ปิดเผยตัว และคงไว้ซึ่งระบบการจัดการที่เหมาะสม
  • มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมเสมอ เพื่อให้เกิดความตระหนักและเน้นการสนับสนุนกิจกรรมทางสังคม และชุมชน

เป้าหมายและแผนงานการดำเนินงาน ปี 2565 การจัดการมิติด้านสังคม

  • มกราคม-มีนาคม: ประการใช้นโยบายและแนวทางการจัดการ และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • เมษายน-มิถุนายน: จดัการทำการสื่อสาร นโยบายด้านความเคารพต่อ สิทธิมนุษยชน, กฎหมายแรงงาน และ ความ รับผิดชอบด้านสังคม
  • กรฏาคม-กันยายน: ทบทวนความคาดหวังและผลกระทบต่อ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและห่วงโซ่อุปทาน” ของนโยบายความ ยั่งยืนของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับมิติความรับผิดชอบต่อสังคม
  • มกราคม-ธันวาคม: จัดกิจกรรมส่งเสริม ความรับผิดชอบต่อสังคม และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน

4.2 ผลการดำเนินงานด้านสังคม
การดำเนินการในปีที่ผ่านมา (2564) บริษัทได้มีการประมวล และประกาศใช้

  • ช่องทางและแนวปฏิบัติ เพื่อการร้องทุกข์/การร้องเรียน/แจ้งเบาะแส
  • นโยบายมติด้านสังคม เพื่อให้ครอบคลุมถึง แนวทางการ และการจัดการ ด้านต่างๆ ดังนี้
    • ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
    • ความเคารพต่อ สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียม
    • ความรับผิดชอบด้านสังคม

ประเด็นละเมิดกฎหมายหรือข้อบังคับด้านสังคม

ในปีที่ผ่านมาบริษัท ไม่มีประเด็นละเมิดกฎหมายหรือข้อบังคับด้านสังคม

 

ติดต่อเรา

+66 2860-8765 sorachai.wiboonchutikul@mcgc.com