บริษัทอะคริลิค Thai Poly ผู้ผลิตและโรงงานอะคริลิคคุณภาพสูง
TH EN

SUSTAINABILITY

การพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนในการต่อต้านการทุจริต

11/01/2018

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา บริษัท ไทยโพลีอะคริลิค จำกัด (มหาชน)  ได้รับการรับรองจากโครงการแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต 
โดยคุณรักชัย  สกุลธีระ  ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและบัญชี  เป็นตัวแทนบริษัทฯ รับประกาศการรับรองเป็นส่วนของโครงการ การสร้างแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต   รับจาก ดร.บัญฑิต นิจถาวร President and CEO Thai IOD
ความเป็นมา
โครงการแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต
(Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: CAC)
            โครงการการสร้างแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต หรือเรียกสั้นๆว่า CAC  ซึ่งย่อมาจากคำว่าCollective Action Coalition against corruption  เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งโดยรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งแต่ปี 2553 และดำเนินการจัดตั้งโดยความร่วมมือของ 8 องค์กรชั้นนำในภาคเอกชนไทย ได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หอการค้าไทย หอการค้าต่างชาติ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ทั้ง 8 องค์กรได้มอบหมายให้ IOD ทำหน้าที่เป็นเลขานุการโครงการและได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก Center for International Private Enterprise (CIPE)  ที่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
วัตถุประสงค์ของโครงการ CAC มุ่งเน้น 3 เรื่องหลัก
1 เปลี่ยนทัศนคติผู้นำภาคธุรกิจปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการุทจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบโดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการต่อต้านการทุจริตและร่วมมือกันเพื่อให้เกิดการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในวงกว้าง
2 ผลักดันให้ภาครัฐปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างโปร่งใส ยอมรับการมีส่วนร่วมและตรวจสอบได้จากภาคเอกชนและประชาสังคม เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะจากการทุจริตคอร์รัปชัน
3 ส่งเสริมและขยายเครือข่ายการประกอบธุรกิจที่สะอาดปราศจากการผูกขาดหรือซื้อความได้เปรียบจากเงินสินบน โดยเน้นไปที่การใช้ระบบกลไกตลาดและการแข่งขันด้วยราคาและคุณภาพของสินค้าและบริการ
โดยบริษัทที่มาร่วมในโครงการต้องประกาศความตั้งใจที่จะเป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนเพื่อต่อต้านการทุจริต จะต้องทำหน้าที่ 2 ประการ
ประการแรกคือ การกระทำตนเองให้เป็นแบบอย่างด้วยการประกาศนโยบายต่อต้านการทุจริตทุปรูปแบบ (Zero Tolerance on any form of corruption Policy) และสร้างระบบป้องกันการการจ่ายสินบนและการทุจริตทุกรูปแบบ (Anti-Corruption & Bribery procedures Standard Setting)  โดยบริษัทที่สนใจจะสมัครเข้าร่วม CAC ต้องให้ประธานกรรมการหรือผู้บริหารสูงสุดลงนามใน ใบคำประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตและบริษัทต้องกรอกแบบประเมินตนเองที่ผ่านการสอบทานจากบุคคลที่สามและยื่นขอรับรองจากคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติเพื่อรับรองการมีอยู่จริงและการนำนโยบายไปปฏิบัติ บริษัทที่ผ่านการรับรองจึงจะเป็นสมาชิก CAC โดยสมบูรณ์ และมีหน้าที่ขยายแนวปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตไปยังคู่ค้าและบริษัทตัวแทนที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการประกอบธุรกิจของตนเองต่อไป
ประการที่สอง คือ การรวมตัวกับบริษัทในภาคธุรกิจให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชนและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการใช้มาตรการต่อต้านการทุจริต การเปิดเผยข้อมูล และกำหนดมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่สะอาด เน้นการแข่งขันด้วยระบบกลไกตลาด
ปัจจุบัน IOD ในฐานะเลขานุการโครงการ รับหน้าที่ขับเคลื่อนโครงการ CAC ใน 4 งานหลัก ได้แก่
ขยายจำนวนบริษัทเป็นแนวร่วมปฏิบัติต่อต้านการทุจริตของภาคเอกชนไปยังภาคธุรกิจต่างๆ ให้มากที่สุด
ให้ความรู้ ผ่านการจัดอบรมหลักสูตร สัมมนา การประชุมต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญการต่อต้านทุจริตโดยภาคเอกชนเป็นผู้เริ่มต้นตัดวงจรการเกิดคอร์รัปชัน(ผู้ให้-เอกชน + ผู้เรียกรับ-ภาครัฐ = คอร์รัปชัน)  ด้วยการไม่ให้ ไม่จ่าย ไม่เสนอ ซึ่งจะลดอุปสงค์คอร์รัปชันได้
สร้างกระบวนการรับรองและกำหนดมาตรฐานระบบป้องกันการทุจริต ให้แก่ภาคเอกชน
รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะของภาคเอกชนไปสื่อสารและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาครัฐ ผ่านช่องทางการทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกเอกชนในทุกรูปแบบ รวมทั้งให้คำแนะนำ ข้อเสนอการจัดทำนโยบายของรัฐในเรื่องการป้องกันและต่อต้านการทุจริต

ติดต่อเรา

+66 2860-8765 sorachai.wiboonchutikul@mcgc.com